แป้งข้าวจ้าว หรือที่หลายคนเรียกว่า แป้งญวณ นั้นทำมาจากเมล็ดข้าวจ้าว โดยนำมาโม่จนละเอียด จึงได้แป้งที่มีลักษณะเนียนขาว เมื่อนำไปประกอบอาหาร จะทำให้ได้เนื้อสัมผัสที่ร่วนและแข็งเล็กน้อย เหมาะสำหรับขนมไทยหลายชนิดที่ต้องการความคงตัว โดยขนมที่นิยมนำไปใช้เช่น ขนมกล้วย ขนมตาล ขนมถ้วย ขนมชั้น ขนมเบื้อง หรือ ขนมที่นำไปทอดต่างๆ
ขนมเปียกปูนชาไทย
แป้งข้าวจ้าว (แป้งข้าวเจ้า) ผลิตจากข้าวจ้าวคุณภาพดี นำมาผ่านกระบวนการโม่แห้ง หรือโม่น้ำ เพื่อให้ได้แป้งข้าวจ้าว ที่ขาว เนียน ละเอียด มีกลิ่นหอม แป้งข้าวจ้าวเมื่อผ่านความร้อนจะเกิดเป็นเจลเนื้อแข็งแน่น ช่วยเพิ่มความคงตัวของขนมต่างๆ เช่นขนมกล้วย ขนมตาล ทองม้วน ขนมเบื้อง ขนมถ้วย ขนมชั้น ลอดช่อง ขนมครก นอกจากขนมหวานแล้ว แป้งข้าวจ้าวยังเป็นส่วนผสมหลักของขนมจีน เส้นก๋วยเตี๋ยว ขนมผักกาด อีกด้วย แป้งข้าวจ้าวยังมีคุณสมบัติช่วยให้ของทอดไม่อมน้ำมัน และคงความกรอบไว้ได้นาน
ขนมเปียกปูนเป็นขนมไทยโบราณ ที่มีแป้งข้าวจ้าวเป็นส่วนผสมหลัก มีเนื้อเนียมนุ่ม และรสชาติหวานละมุน ในสมัยก่อนขนมเปียกปูนจะมีสีดำจากกาบมะพร้าวเผา ทำให้มีกลิ่นหอม และสีที่แปลกตา ต่อมามีการประยุกต์ใช้น้ำใบเตยแทนกาบมะพร้าว เพื่อเพิ่มสีเขียว และกลิ่นหอมจากใบเตย เมนูนี้ยังสามารถดัดแปลงสูตรได้หลากหลาย โดยแป้งข้าวจ้าว ตราเหรียญทองคู่ ขอนำเสนอเมนูใหม่ “เปียกปูนชาไทย” ที่มีสีส้มสดใส และกลิ่นหอมจากชาใต้ เข้ากันดีกับน้ำกะทิ แถมทำง่ายไม่ยุ่งยาก
ส่วนผสม :
- แป้งข้าวจ้าว (ตราเหรียญทองคู่) 80 กรัม
- แป้งมันสำปะหลัง (ตราเหรียญทองคู่) 40 กรัม
- น้ำชาไทย 400 มล.
- เกลือ 1/4 ช้อนชา
- นมข้นจืด 175 มล.
- นมข้นหวาน 200 มล.
- น้ำปูนใส 175 มล.